ข่าวล่าสุด





งานบุญเดือนสี่ ประเพณีไทคอนสาร ประจำปี 2556

วันทีื 11 เมษายน 2556 ณ เวทีกลางสนามที่ว่าการอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ นายเจริญจรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานบุญเดือนสี่ ประเพณีไทคอนสาร ประจำปี 2556

 

บุญเดือนสี่จะกระทำในระหว่างเดือนสี่กับเดือนห้าต่อกัน เป็นการทำบุญขึ้นปีใหม่ในสมัยโบราณเพราะการนับปีในสมัยโบราณนั้น นับตามจันทรคติ เอาเดือนสี่เป็นเดือนสุดท้ายของปี? เอาเดือนห้าเป็นเดือนเริ่มแรกของปี ในช่วงท้ายปีเก่าและขึ้นต้นปีใหม่ จึงจัดให้มีการทำบุญและงานรื่นเริงสนุกสนานขึ้น ชาวบ้านเรียกชื่อว่า บุญตรุษสงกรานต์งาน นี้สมัยก่อนถือว่าเป็นงานสำคัญมาก ทุกคนต้องให้ความสำคัญ และยอมรับปฏิบัติตามกติกาของสังคมอย่างเคร่งครัดถ้าใครฝ่าฝืนก็จะถูกลงโทษ เช่น เสียค่าปรับเป็นสุรา หรืออาหารเป็นต้น กติกามีอยู่ว่า ในระยะสามวัน คือวันขึ้น ๑, ๒ และ ๓ ค่ำเดือน ๕ ใครจะทำธุรกิจการงานไม่ได้? มีแต่ทำบุญเล่นสนุกสนานเท่านั้น ใครฝ่าฝืนต้องถูกปรับ สมัยทุกวันนี้กติกานี้เลิกใช้กันแล้ว เมื่อใกล้วันงาน ชาวบ้านก็จะเตรียมจัดหาข้าวสาร? อาหาร แห้ง ซึ่งเก็บไว้รับประทานได้ นาน ๆ มากับตุนไว้ นอกจากข้าวสารอาหารแห้งแล้ว ก็ต้องเตรียมพวกเชื้อเพลิงพวกฟืน หรือถ่านไว้ให้พร้อม เพราะในระหว่างงานนี้ไม่มีการหาฟืนหรือเผาถ่าน อาหารแห้งที่ชาวบ้านเตรียมกันก็ได้แก่ พวกเนื้อย่าง ปลาย่างข้าวตอกปั้น ข้าวเฮียง และขนมจีน? อาหารสำเร็จ ที่ชาวคอนสารนิยมทำคือ คั่วปลา และคั่วเนื้อ อาหารสองอย่างนี้นิยมทำกินกันในงานนี้ และงานบุญสาทรเท่านั้น ถือว่าเป็นยอดอาหารของชาวคอนสาร และสามารถเก็บไว้รับประทานได้นานไม่บูด ไม่เสียง่ายเริ่มงานในวันแรม๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ตอนบ่าย ๆ ผู้มีศรัทธา ก็จะนำธงแผ่นผ้าไปปักในบริเวณวัด ตอนเย็น ๆ แทบทุกครัวเรือน? ส่วน ใหญ่จะเป็นเด็ก ๆ จะพากันนำทรายที่สะอาดมาก่อรวมกันเป็นพระทรายใหญ่หนึ่งองค์ ทรายที่เหลือจากนั้นก็นำมาก่อเป็นพระทรายเล็กหลาย ๆ องค์ ตามบริเวณโคนต้นโพธิ์บ้าง ข้างธาตุบ้าง ข้างกำแพงบ้าง? ตามอัธยาศัย พระทรายเล็กนี้แต่ละคนจะก่อหลายองค์สำหรับ ผู้ที่นำธงแผ่นผ้ามาปักก็จะก่อพระทรายเล็กที่รอบ ๆ โคนเสาธงของตนเองนั่นแหละกลางคืนวันแรม ๑๔ ค่ำเดือน ๔ นี้ มีการเจริญพระพุทธมนต์ที่ศาลาการเปรียญ พอพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ไปถึงบท อิติปิโส ภควา เจ้า ของพระทราย และเจ้าของธง จะนำเทียนไปจุดปักที่พระทราย และนำดอกไม้ไปวางไว้ด้วย ถือว่าเป็นการฉลองธงแผ่นผ้าและพระทรายเช้าของวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ พระสงฆ์ในวัดจะลงศาลกาการเปรียญ ประชาชนจะไหว้พระรับศีล ขอขมาต่อพระสงฆ์ อาราธนาให้พระสงฆ์สวดถวายพรพระ ประชาชนใส่บาตรเสร็จแล้วถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าของพระทรายก็จะไปหยาดน้ำที่กลุ่มพระทรายของตนเอง เจ้าของธงก็จะไปหยาดน้ำที่โคนเสาธงของตนเอง ขณะพระสงฆ์ฉันภัตตาหาร ประชาชนที่ยังไม่กลับบ้านก็จะขอพรผู้เฒ่า ผู้แก่ ที่อยู่บนศาลกาการเปรียญเมื่อพระสงฆ์ฉันภัตตาหารเสร็จก็บายศรีสู่ขวัญผูกแขนพระเณรทุกรูปแล้วร่วมกันรับประทานอาหารต่อจากนั้นเจ้าของธงก็ดี เจ้าของพระทรายก็ดี ซึ่งจัดกัณฑ์เทศน์มา ก็จะอาราธนาพระสงฆ์มาเทศน์เป็นกัณฑ์ ๆ ไป จนครบทุกเจ้าภาพเป็นเสร็จพิธี ปัจจุบันการเทศน์นิยมเทศน์รวมเพียงกัณฑ์เดียว บางครั้งก็เทศน์ก่อนฉันภัตตาหาร? เพื่อจะอนุโมทนาครั้งเดียวให้เสร็จ

ใน วันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ นี้ ชาวบ้านทั่ว ๆ ไป หลังจากรับประทานอาหารเช้าแล้ว ผุ้ชายที่เคยบวชมาแล้ว ก็จะเตรียมดอกไม้และเทียน เพื่อไปขอขมาจากอุปัชฌาย์อาจารย์ของตน และพระเถระผู้ใหญ่ที่ตนนับถือ ฝ่ายเด็ก ๆ หนุ่มสาวและชาวบ้านทั่ว ๆ ไปก็จะเตรียมดอกไม้ ฝ้ายผูกแขนรวมกันเป็นหมู่ ๆ ไปขอพรญาติผู้ใหญ่และผู้เฒ่าผู้แก่ที่ตนนับถือ จนหมดทุกคน กลางคืนหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว แม่ก็จะนำลูก ๆ ขอพรพ่อ ก็จะขอพรแม่ บางคนไม่ว่างในวันแรม๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ก็จะไปขอพรในวันขึ้น ๑,๒ แล ะ ๓ ค่ำ เดือน ๕ การไปขอพรนี้ นอกจากจะนำดอกไม้ไปสักการะผู้เฒ่าผู้แก่แล้ว ก็นิยมนำของฝาก เล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เนื้อย่าง ปลาย่างข้าวตอก ข้าวเฮียง หรือผลไม้ ไปฝากท่านผู้ที่เคารพนับถือด้วยฝ่ายพระภิกษุสามเณร ตอนบ่ายของวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เจ้า อาวาสก็จะนำพระภิกษุสามเณรลูกวัดไปขอขมาโทษอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระผู้ใหญ่ที่ตนเคารพนับถือ โดยนำดอกไม้และเทียนไปสักการะท่าน ตอนเย็นหลังจากทำวัตรแล้ว พระเณรลูกวัดก็จะขอขมาโทษเจ้าอาวาส พระสงฆ์เป็นขอขมาฆราวาสเป็นขอลาภขอพร เข้าใจว่าเป็นการขอขมาเช่นเดียวกัน แต่ฆราวาสส่วนใหญ่ไม่ได้คำขมา เมื่อเวลาไปสักการะผู้เฒ่าผู้แก่ จึงไม่กล่าวคำขมา เลยเป็นขอลาภขอพรไปในวันขึ้น ๑,๒และ ๓ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันเที่ยวสนุกสนาน ประชาชนทั่วไปก็จะออกจากบ้านไปเที่ยวเยี่ยมญาติพี่น้อง หรือพูดคุยกัน กินเหล้า เมายา ตามถนัด ฝ่ายสาว ๆ ก็จะจับกลุ่มกันเล่นสะบ้า ตามหมู่บ้านของตนเอง พวกหนุ่ม ๆ ทั้งหลาย ก็จะไปเที่ยวเล่นสะบ้าตามหมู่บ้านต่าง ๆ ตอนเย็นก็ออกทุ่งนา เล่นตะกร้อวงบ้าง คร่อมขึ้นขี่บ้าง มอญซ่อนผ้าบ้าง ค่ำก็กลับบ้าน ได้ครบ ๓ วันแล้ว ก็เลิกลากันไปต่อ จากบุญเดือนสี่นี้ คือวันขึ้น ๔ ค่ำเดือน ๕ ทุกวัดจะนำพระพุทธรูปลงหอสรงน้ำพระพุทธรูป ซึ่งมีอยู่ทุกวัด ทำการสงน้ำพระพุทธรูปและแห่น้ำทุกวัน ขึ้น ๙ ค่ำเดือน ๕ ไปทำพิธีสรงน้ำที่น้ำผุดนาเลา ตอนเย็นมาทำพิธีตั้งมงคลบ้าน? ที่ศาลาหมื่นอร่ามกำแหง ๓ วัน ขึ้น ๑๒ค่ำ นำพระพุทธรูปขึ้นจากหอสรง รายละเอียดได้กล่าวแล้วในพิธีเข้าทรงลงเจ้าในระยะหลัง ๆมานี้ ประเพณีการเล่นสะบ้าจะค่อย ๆ หายไป จนมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๘? ได้ มีการจัดตั้งอนุสาวรีย์หมื่นอร่ามกำแหง และได้ทำการเฉลิมฉลอง จึงได้ฟื้นฟูการเล่นสะบ้าขึ้นใหม่ โดยจัดให้มีการแข่งขันกัน และมีรางวัลให้ ปรากฏว่าประชาชนให้ความสนใจมาก มีทีมสะบ้าสมัครเข้าแข่งขันเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่นั้นก็ได้จัดการแข่งขันมาทุก ๆ ปี

ปัจจุบันจัดให้มีกิจกรรมมากขึ้นเช่น ประกวดขบวนแห่ทางวัฒนธรรม การแข่งขันคั่วเนื้อคั่วปลาการโหนลมเก็บหมาก ประกวดพานบายศรี ประกวดธิดาไทคอนสารและการแข่งขันสะบ้าชิงถ้วยรางวัล เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของเมืองคอนสาร โดยจัดงานในวันขึ้น ๑, ๒? และ ๓ ค่ำ เดือน ๕ ที่บริเวณสนามหน้าที่ว่าการอำเภอคอนสาร,อนุสาวรีย์หมื่นอร่ามกำแหงและบริเวณวัดเจดีย์

 

 

 

 

 

 

 

พิมพ์&updateโดย:พฤกษ์ ภาพข่าวโดย:โดโด้