ข่าวล่าสุด





ประเพณีสงกรานต์ จังหวัดชัยภูมิ ประจำปี 2555

วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน 2555 เวลา 14.00 น. ณ จวนผู้ว่าราชกา่รจังหวัดชัยภูมิ นายมนตรี ชาลีเครือ นายก อบจ.ชัยภูมิ หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ พนักงานจ้าง ทั้งภาครัฐและเอกชน จังหวัดชัยภูมิ ร่วมกันรดน้ำขอพรจาก นายชนะ นพสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ และนางศศิวิมล นพสุวรรณ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ เนื่องในประเพณีสงกรานต์ประจำปี 2555

วันมหาสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ.2555 ตรงกับวันศุกร์ที่ 13 เมษายน 2555 เวลา 19.46 น.12 วินาที นางสงกรานต์ มีนามว่า "กิมิทาเทวี" ทรงพาหุรัด ทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้ว บุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ หัตถ์ขวาทรงขรรค์ หัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จไสยาสน์ลืมเนตร(นอนลืมตา) มาเหนือหลังมหิงส์(กระบือ) เป็นพาหนะ ทำนายว่า ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุขเกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ พฤหัสบดีเป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 500 ห่า ตกในเขาจักรวาล 200 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 150 ห่า ตกในมหาสมุทร100 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 50 ห่า เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ วาโย (ธาตุลม) น้ำพอประมาณพายุจัด เกณฑ์นาคราชให้น้ำ ปีมะโรง นาคราช ให้น้ำ 3 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีมาก กลางปีงาม แต่ปลายปีน้อยแล เกณฑ์ธัญญาหารชื่อ วิบัติ ข้าวกล้าในไร่นา จะเกิด กิมิชาติ คือ มีด้วงแมลงรบกวนข้าวกล้า จะได้ผล 1ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราชจากกันจะฉิบหายเป็นอันมากแล ทั้ง นี้ วันมหาสงกรานต์ 2555 ตรงกับวันศุกร์ ทำนายว่า ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุมจะเจ็บตายกันมากนักแลฯ วันเนา ตรงกับวันเสาร์ ทำนายว่า ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์ จะร้อนใจนักผักปลาจะแพงแลฯวันเถลิงศก ตรงกับวันอาทิตย์ทำนายว่าพระมหากษัตริย์จะรุ่งเรือง ด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแลฯ

วันสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยจนกระทั่งมาเปลี่ยนแปลงให้เป็นวันที่ 1 มกราคม ตามหลักสากลของนานาประเทศเมื่อปี พ.ศ.2483 แต่แม้จะกำหนดวันขึ้นปีใหม่ให้ตรงตามหลักสากลแล้วสำหรับ คนไทยเองก็ยังยึดเอาวันสงกรานต์เป็นวันที่มีความสำคัญอยู่แล้วรู้ไหมว่า จริง ๆแล้ว สงกรานต์ ไม่ได้เป็นเพียงประเพณีปีใหม่ที่เก่าแก่ของประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศพม่า ลาว กัมพูชา รวมไปถึง ชนกลุ่มน้อยชาวไทยแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน รวมทั้งที่ประเทศศรีลังกาและทางตะวันออกของ ประเทศอินเดียอีกด้วยโดยคำเต็ม ๆ ของ "วันสงกรานต์" ต้องเรียกว่า "ตรุษสงกรานต์" แต่คนทั่วไปนิยมเรียกสั้นๆ ว่า"สงกรานต์" เท่านั้น ทั้งนี้ คำว่า "ตรุษ" เป็นภาษาทมิฬ แปลว่า ตัด หรือ ขาด หมายถึง ตัดปี ขาดปีหรือสิ้นปี เพราะฉะนั้น "ตรุษ" จึงมีความหมายถึงการแสดงความยินดีที่ปีเก่าผ่านไป และมีชีวิตอยู่รอดมาตลอดปีนั่นเองซึ่งคน ไทยในสมัยก่อนจะถือเอาเดือนเมษายนเป็นวันสิ้นปี และวันปีใหม่จึงมีพิธีทำบุญวันตรุษ 3 วัน คือ วันแรม 14 ค่ำ เดือน 4 , วันแรม 15 ค่ำ เดือน 4 และวันขึ้น 1 ค่ำ ของเดือน 5 ส่วนคำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสกฤตแปลว่า การก้าวขึ้น ย้ายขึ้น เคลื่อนย้าย ในที่นี้หมายถึงการเคลื่อนที่ของพระอาทิตย์จากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งจะตรงกับ วันที่ 13 14 15 เมษายน โดย วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" หรือ "วันสังขารล่อง"ถือเป็นวัน สงกรานต์ปี วันที่ 14 เมษายน เรียกว่า "วันเนา" หรือ "วันเน่า" ซึ่งแปลว่า "อยู่" หมายถึงอีก 1 วันถัดจากวันมหา สงกรานต์ เป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้ามาอยู่ในราศีใหม่เรียบร้อยแล้ววันที่ 15 เมษายน เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราช เรียก ว่า "วันเถลิงศก" หรือ "วันพญาวัน" ซึ่งเป็นวันสำคัญวันแรกของปีใหม่ ในสมัยก่อนไม่ได้กำหนดให้วันที่ 13-15 เป็นวันสงกรานต์ดังเช่นปัจจุบันแต่ต้องใช้การคำนวณตามหลักเกณฑ์ใน คัมภีร์สุริยยาตร์ ซึ่งอาจจะตรงกับวันที่ 14-16 เมษายนในบางปีแต่ปัจจุบันนี้ได้กำหนดในวันที่ 13-15 เมษายนของ ทุกปีเป็นวันสงกรานต์ และวันหยุดราชการเพื่อให้ง่ายต่อการกำหนดวันประกอบพิธี ขณะที่ "น้ำ" ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ถึงความชุ่มชื่นในสมัยก่อนแต่ปัจจุบันด้วยสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้เรามักจะเห็นภาพวัยรุ่นลงมาเล่นน้ำสาดน้ำ ใส่กันประกอบกับยังมีการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น "Water Festival" ทำให้คนเข้าใจคลาด เคลื่อนว่า "น้ำ" เป็นเพียงประเพณีเล่นน้ำที่มีเพียงแค่ความสนุก และดับร้อนในเดือนเมษายนเท่านั้น ด้วยเหตุนี้คนรุ่นใหม่หลายๆคน จึงไม่เข้าใจความหมาย และรากเหง้าของประเพณีสงกรานต์อย่างแท้จริง ซึ่งเรา ควรช่วยกันสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่า เทศกาลสงกรานต์ เป็นประเพณีที่มีคุณค่าอย่างมากเพราะเป็นวันที่แสดง ถึงความรัก ความสามัคคี ความกตัญญู ฯลฯทมิใช่เพียงเพื่อความสนุกสนานแต่เพียงเท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพโดย : พฤกษ์  ข่าวโดย : โดโด้