ชัยภูมิแห่นาคโหดสืบสานประเพณีไม่โหดไม่ให้บวชเพียงแห่งเดียวในโลก

วันที่ 4 พฤษภาคม 2557 ณ วัดตาแขก บ้านโนนเสลา หมู่ 11 ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ
นายนิพนธ์ สาธิตสมิธพงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ ได้รับเกียรติเป็นประธานพิธีเปิดงานแห่นาคโหดสืบสานประเพณี

เพื่อจัดงานสืบสานประเพณีโบราณงานบุญเดือนหกอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นอีกครั้งมา ต่อเนื่องแต่โบราณ ซึ่งจะเป็นช่วงทำพิธีอุปสมบท (บวช) หมู่ ให้กับคนหนุ่มที่มีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ของหมู่บ้านโนนเสลา-โนนทัน ในปีนี้จำนวน 15 รูป เพื่ออนุรักษ์และสืบทอดประเพณีที่มีการปฏิบัติในการแห่นาคแบบสุดโหดมานานนับ ร้อยปี ไปรอบหมู่บ้านโนนเสลา ระยะทางยาวกว่า 3 กิโลเมตร ก่อนที่จะเข้าร่วมพิธีบวชที่วัดตาแขก บ้านโนนเสลา หมู่ 11 ตำบลหนองตูม  ซึ่งถือเป็นหมู่บ้านแห่งเดียวที่ใหญ่ที่สุดของอำเภอภูเขียว มีประชาชนกรหนาแน่นกว่า 1,250 หลังคาเรือน          

โดยนายไสว  จรรย์โกมล  นายก อบต.หนองตูม กล่าวว่า ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลาถือเป็นประเพณีโบราณและปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปีหลาย ชั่วคนที่มีแห่งเดียวในโลก ที่จ.ชัยภูมิ เพื่อที่ชาวบ้านจะได้มาร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มบุตรหลานใน หมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจขอจะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ ผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม(วัดนอก) และวัดตาแขก(วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วยเทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหกของทุกปี ซึ่งถือว่าวันแห่นาคโหด จะเป็นวันสำคัญในการที่ประชาชนทุกคนในหมู่บ้านจะต้องออกมามีส่วนร่วมแห่นาค เข้าวัด ที่เป็นตำนานของประเพณีแห่นาคแบบแปลกประหลาดและโหดที่สุดในโลกเพียงแห่ง เดียว ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านาน โดยจะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้าน มาช่วยกันหามแข้ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่า โยนนาค อย่างรุนแรง เพื่อความสนุกสนาน และถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่าผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนจริงจังที่จะบวช แทนคุณบิดามารดาหรือไม่ที่จะต้องประคองตัวเองคือผู้ที่จะบวชไม่ให้ตกลงมาจากแข้ไม้ไผ่หามให้ได้ เพราะถ้าใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช  ในตลอดระยะเส้นทางแห่รอบหมู่บ้านก่อนเข้าวัดทำพิธีบวช ระยะทางกว่า 3 กิโลเมตรให้ได้ ซึ่งเดิมประเพณีนี้เริ่มหายไป ทางจังหวัดชัยภูมิ จึงเห็นว่าประเพณีโบราณเหล่านี้จะหายไป จึงได้ร่วมกับทุกภาคส่วนออกมาฟื้นฟูประเพณีขึ้นมาอีกครั้งมาต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2514 อีกครั้งมาอย่างต่อเนื่อง มาจนถึงปัจจุบัน ที่ถือว่ายังไม่มีผู้ใดที่ตกลงมาจากแค่คนหามถูกดินและสามารถเข้าพิธีบวชได้ ทุกราย ถึงแม้จะมีการได้รับบาดเจ็บถึงขั้นศรีษะแตกและแขนหลุดบ้างก็ตาม

ขณะที่ปีนี้ถือว่ายังมีว่าที่เขยต่างถิ่นจากแดนไกลภาคใต้ อย่างนายสุธรรม  ศิริโท อายุ 20 ปี ชาวบ้านหมู่ 5 จากตำบลคลองหลา อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ที่ปีนี้ที่ได้มาร่วมบวชแห่นาคโหด แทนคุณพ่อแม่ในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า วันนี้ถือว่าตนเองก็จะเป็นคนในชุมชนนี้ด้วยเช่นกัน และเตรียมตัวที่จะมาเป็นเขยชาว ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ แห่งนี้ด้วย รวมทั้งประเพณีของคนหนุ่มที่ต.หนองตูม ที่นี่ไม่มีใครที่จะคิดไม่บวชโดยไม่ผ่านประเพณีแห่นาคโหด ที่ต้องถือว่าหากไม่โหดแบบนี้เขาก็จะไม่มาบวชเช่นกัน ที่ถือว่าคนหนุ่มทุกคนที่นี่จะต้องผ่านประเพณีแห่นาคโหดก่อนบวชให้ได้ เพื่อจะได้ถือว่าได้ผ่านขั้นตอนที่จะแสดงถึงความอดทน แสดงถึงความกตัญญูตอบแทนคุณพ่อแม่ให้ได้ และถือว่าใครผ่านพิธีนี้และเข้าบวชได้ ก็ถือว่าจากนี้ไปเมื่อผ่านเรื่องร้ายๆไปได้ ชีวิตต่อจากนี้หลังบวชออกไปใช้ชีวิตคู่ ก็จะเจริญรุ่งเรืองขึ้น และอยากให้คนรุ่นหลังช่วยกันสืบทอดอนุรักษ์ให้ประเพณีแห่นาคโหดแห่งนี้ให้คง อยู่ตลอดต่อไป