ชัยภูมิ ดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในเขตเทศบาลเมือง อย่างยั่งยืน

วันที่ 12 ตุลาคม 2555 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมอุบลรัตน์ เทศบาลเมืองชัยภูมิ นายเจริญ จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยนายมานะ  โลหะวณิชย์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย จ.ชัยภูมิ เขต 2 นายมนตรี  ชาลีเครือ นายก อบจ.ชัยภูมิ นายบรรยงค์ เกียรติก้องชูชัย นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชัยภูมิ ตัวแทนผู้นำชุมชนใกล้เคียงในเขตเทศบาลเมืองทั้ง 25 ชุมชน และผู้นำท้องถิ่นใกล้เคียง เทศบาลตำบลโคกสูง,อบต.นาเสียว,อบต.บ้านเล่า,อบต.โพนทอง,อบต.บุ้งคล้า และอบต.รอบเมือง  เดินทางร่วมลงพื้นที่เปิดประชุมรับฟังความคิดเห็นกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องและประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ตามโครงการทำคันกันน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมพื้นที่โซนเศรษฐกิจ เขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ ทั้งหมด ซึ่งทางรัฐบาลมีการอนุมัติสนับสนุนงบประมาณโครงการป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง ชัยภูมิในปี 2556 นี้แล้วในระยะที่ 1 มาแล้วกว่า 150 ล้านบาท

โดยนายเจริญ   จรรย์โกมล รองประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า หลังจากที่ได้รับเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมือง ชัยภูมิ ทั้งหมด 25 ชุมชน  และร่วมกันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งชลประทานจังหวัด โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดชัยภูมิ ซึ่งราษฎรในโซนเศรษฐกิจของตัวเมืองชัยภูมิ ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมมาตลอดและหนักสุดในรอบ 50 ปี ที่เกิดน้ำท่วมหนักสุดในรอบ 50 ปีที่ผ่านมาเมื่อปี 2553ซึ่งมีการสำรวจพบว่าจ.ชัยภูมิ ช่วงหน้าฝนทุกปีจะเกิดน้ำท่วมมากกว่า 3 ครั้งทุกปีเมื่อเกิดฝนตกหนัก เนื่องจากชุมชนในตัวเมืองชัยภูมิ ทั้ง 25 ชุมชน จะเป็นที่ต่ำต้องรับน้ำที่เกิดฝนตกหนักทุกปีล้นเขื่อนลำประทาว ออกมาผ่านเข้าเชื่อมลำห้วยเสว เข้าตัวเมืองหลากออกล้นตลิ่ง 2 ข้างทางเกิดน้ำท่วมบ้านเรือนราษฎรเสียหายมาตลอด โดยล่าสุด มีการสำรวจแผนเพื่อที่จะเร่งเตรียมการรับมือแก้ปัญหาน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน เมืองชัยภูมิ เสร็จเรียบร้อยแล้วในปีนี้ โดยทางรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณให้เร่งลงมาดำเนินการในปี 2556 แล้ว ในระยะแรก กว่า 150 ล้านบาท ซึ่งพร้อมจะดำเนินการก่อสร้างคันหรือพนังกั้นน้ำตลอด 2 ข้างทางที่น้ำจากเขื่อนลำประทาวไหลผ่านเข้าตัวเมืองชัยภูมิ ตลอดทั้งสายยาวกว่า 2.5 กิโลเมตร เริ่มก่อสร้างได้ทันทีในต้นเดือน พ.ย.นี้ ซึ่งจะมีระยะเวลาดำเนินการกว่า 750 วัน จากนี้ไปแล้ว และยังมีระบบการจัดการน้ำควบคู่กับคันพนัง ได้เป็นอย่างดีและจะตามด้วยระยะโครงการระยะที่ 2 อีกกว่า 200 ล้านบาท และสุดท้ายในระยะที่ 3 อีกกว่า 300 ล้านบาท ที่จะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นทุกฝ่าย ว่าจากนี้ไปเมื่อมีการระบายน้ำออกนอกเมือง และจะต้องไปกระทบกับชุมชนรอบนอกถูกน้ำท่วมต่อและจะมีพื้นที่เสียหายตากมาอีกจำนวนมาก ก่อนที่จะระบายลงลำน้ำชีได้ จะมีชุมชนใกล้เคียงใกล้เขตเทศบาลตำบลโคกสูง,อบต.นาเสียว,อบต.บ้านเล่า,อบต. โพนทอง,อบต.บุ้งคล้า และอบต.รอบเมือง ในเขตอ.เมืองชัยภูมิได้รับความเดือร้อนตามมาด้วยเช่นกัน “ก็จะต้องมีการร่วมหารือแนวทางช่วยกันที่จะเป็นการแก้ปัญหาได้พร้อมกัน ทั้งระบบ ซึ่งมีการขอผลักดันโครงการก่อสร้างประตูระบายน้ำ ในตำบลใกล้เคียงอีกหลายจุดๆละไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท และมีการอนุมัติในต.บุ้งคล้าไปแล้ว 120 ล้านบาท รวมทั้งสร้างโรงสูบน้ำผลักดันน้ำ ป้องกันน้ำชีที่จะต้องหนุนสูงมาสมทบด้วยอีกทางด้วยเช่นกันที่ฝายจุดบ้านโนน ทัน ต.บ้านเล่า อีกกว่า 25 ล้านบาท  

รวมทั้งในส่วนของเขื่อนลำประทาว เองในปัจจุบันเองก็มีปัญหาเรื่องการระบายน้ำ ที่เกิดความตื้นเขินในเขื่อนรับน้ำได้น้อยกว่าที่เคยเป็นเพราะมีการทับถมของ ตะกอนดินหน้าเขื่อนมานานหลายสิบปี จะต้องมีแผนการขุดลอกอีกกว่า 50 ล้านบาท รวมทั้งลำชีตลอดทั้งสายที่ไหลผ่านตัวจ.ชัยภูมิ เกิดความตื้นเขินด้วยเช่นกันตลอดระยะเวลา กว่า 50 ปีที่ผ่านมาก็ยังไม่เคยมีการขุดลอกเลย รวมทั้งปัญหาพนังกั้นน้ำแตกเสียหาย และส่วนที่เหลือเป็นฟันหลอ ในช่วงอ.หนองบัวระเหว,บ้านเขว้า และอ.จัตุรัส ตลอดทั้งสายที่ลำชีไหลผ่าน ซึ่งเรื่องนี้ทางกรมเจ้าท่า และชลประทานได้มีแผนร่วมกันดำเนินการแก้ปัญหา เพื่อเสนอของบประมาณในปี 2556 นี้อีก 3 ระยะในต้นปี56นี้ กว่า 450 ล้านบาท และระยะที่ 2 และ 3 ในปี2557อีกกว่า 600 ล้านบาทด้วยเช่นกัน

เพื่อเป็นการเตรียมรับมือแก้ปัญหาน้ำท่วม-แล้ง จ.ชัยภูมิ ในปีต่อไปจากตัวแทนราษฎรในพื้นที่ที่รู้ปัญหาและความเดือดร้อนของตนเอง ได้อย่างยั่งยืนโดยเร็วต่อไป และขอให้ทุกฝ่ายเร่งพูดคุยหารือกันนำเสนอแผนงานทั้งหมด เพื่อที่ทางรัฐบาลจะได้ช่วยเหลือสนับสนุนงบประมาณลงมาดำเนินการให้ต่อเนื่อง อย่างยั่งยืนร่วมกันให้ต่อเนื่องโดยเร็วต่อไป