องค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ เริ่มมีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานเอง เมื่อปี 2509 เป็นข้าราชการส่วนจังหวัด ผู้ช่วยเลขานุการส่วนจังหวัด, ผู้ช่วยหัวหน้าส่วนการคลัง และพนักงาน บัญชีประจำอำเภอ 3 อัตรา นอกนั้นเป็นลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานขับรถ,เจ้าหน้าที่ธุรการและภารโรง 5-6 คน ที่ทำงานยังคงอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดปลายปี 2509 ทางราชการได้โอนการศึกษาประชาบาล จากกระทรวงศึกษาธิการ มาสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด

 

ปี2510 เปิดเขตเร่งรัดพัฒนาชนบทขึ้นที่  จังหวัดชัยภูมิเป็นงานที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จังหวัดได้จัดสร้างอาคาร สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด เป็นอาคารไม้ 2 ชั้น 5 ช่วง ห้องที่บริเวณทิศเหนือศาลากลางจังหวัด จาก การรับโอนงานการศึกษาประชาบาล งานเร่งรัดพัฒนาชนบท จึงมีปริมาณงานและกำลังคนมากขึ้น อาคาร เดิมคับแคบลง  ปี 2516 จึงสร้างต่อเติมอาคารออกไปทางด้านทิศตะวันตก 3 ห้อง และด้านทิศตะวันออก 1 ห้อง เพื่อให้เพียงพอ เป็นที่ทำงานของส่วนราชการองค์การฯ 5 ส่วนได้แก่ สำนักงานเลขานุการจังหวัด, ส่วนศึกษาธิการ, ส่วนวิศวกรรม, ส่วนแผนงานและส่วนการคลัง

 

ปี 2522 ได้ขยับขยายสร้างต่อเติมที่ทำงานไปทางทิศตะวันตกอีกครั้ง  แต่ในครั้งนี้สร้างเป็นอาคาร 2 ชั้น คสล.3 ช่วงห้องสำนักงานองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด จึงมีลักษณะยาวเหมือนรถไฟ โดยมีหัวขบวนเป็นตึก คสล. ต่อขบวนเป็นอาคารไม้ส่วนราชการองค์ การฯ ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบางส่วน โดยกระทรวงมหาดไทย ให้ตั้งส่วนเร่งรัดพัฒนาชนบทขึ้น ยุบส่วนวิศวกรรมและส่วนแผนงานเดิมเปลี่ยนไป เป็นฝ่ายวิศวกรรมและฝ่ายบริการ และพัฒนาสังกัดส่วนที่ตั้งขึ้นใหม่ เพื่อความเหมาะสม ต่อมาส่วนการศึกษาต้องยุบไป  เนืองจากทางราชการให้ ้โอนกิจการศึกษา ประชาบาลไป สังกัดการประถมศึกษาแห่งชาติ 

            เมื่อปี 2523 ปัจจุบันมีข่าวว่าส่วนเร่งรัดพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นเรื่องของการ เปลี่ยน แปลงที่คงจะอ้างเหตุเพื่อความเหมาะสมอีกเช่นกัน อาคารองค์การบริหารส่วนจังหวัดเดิมมีห้อง ประชุม ศาลากลางจังหวัดบ้าง ศาลาประชาคมบ้างตามแต่โอกาสจะอำนวยการประชุมสภาจังหวัดแต่ละสมัย ประชุมจะใช้ ระยะเวลายาว 7 วัน ถึง 15 วัน บางครั้งอาจขยายเวลาประชุมในราชการของหน่วยงานต้อง ไปประชุมกันที่อื่น และมีบ่อยครั้งที่สมาชิกสภาจังหวัดต้องนั่งรอการประชุม เพราะหน่วยงานอื่นใช้ห้องประชุม ประชุมกิจการอื่นด้วยเหตุดังกล่าวนี้จึงเกิดความคิดว่า เหตุใดทางองค์การบริหารส่วน จังหวัดจึงไม่จัดที่ประชุม สภาจังหวัดเป็นของตนเองไว้เพราะ ทำนองเดียวกับเทศบาลไม่ต้องเร่งไปประชุมที่อื่น ปัจจุบันองค์การบริหาร ส่วนจังหวัด หลายจังหวัด ได้สร้างอาคารใหม่ หรือปรับปรุงอาคารเก่ามีห้องประชุม สภาจังหวัดใช้งานได้โดยสะดวก

          ดังนั้นเมื่อปี 2527 สำนักงานเลขานุการ จังหวัดจึงได้เสนอความเห็นต่อผู้ว่าราชการจังหวัด ว่าควร สร้างต่อเติมอาคารองค์การฯ หลังเก่าออกไปอีก 5 ช่วงห้อง จัดไว้ห้องประชุมสภาจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด (นายนพรัตน์ เวชชศาสตร์) เห็นชอบในหลักการ แต่ขอเวลานำความคิดนี้ปรึกษา กับสมาชิกสภาจังหวัดก่อน ได้รอการตั้งงบประมาณเพื่อการนี้ไว้ก่อนปี 2528 ได้ขอตั้งจ่ายเพื่อการสร้างต่อเติมอาคารดังกล่าวอีก แต่บังเอิญมีงานที่เร่งด่วนต้องใช้เงินงบประมาณ ส่วนจังหวัด  เป็นค่าปรับปรุงสนามบินแห่งใหม่ที่โคกโจด บ้านหนองบัวขาว อำเภอเมืองชัยภูมิ ซึ่งอยู่ห่าง จากตัว จังหวัดออกไปประมาณ 12 กม. เพื่อมอบให้กองทัพ อากาศเป็นการแลกเปลี่ยนกับสนามบินเก่า ซึ่งใช้เป็นศูนย์ราชการในปัจจุบัน จึงเป็นอันต้องต่อเติมองค์การฯ

          ต่อมาปี 2530 ได้ตั้งจ่ายเพื่อการสร้างต่อเติมอาคารอีก คราว นี้คณะกรรมการคลังเห็นพ้องด้วยกับความจำเป็นของทางราชการ แต่สถานที่ไม่เอื้ออำนวย กล่าวคือ ถ้าสร้างต่อเติมตามแนวอาคารเดิมออกไปอีก 5 ห้อง ตัวอาคารส่วนที่ต่อออกไปจะล้ำไปด้านหลังอาคารทั้ง ตัวอาคารจะ ไปจดอาคารสโมสรชาวชัยภูมิทั้งมีข่าวว่า จังหวัดจะได้งบประมาณมาต่อเติมอาคาร ศาลากลาง จังหวัด สร้างบังอาคารองค์การฯ ด้วยคณะกรรมการ การคลังสภาจังหวัด จึงไปดูที่ดินขององค์การ บริหารส่วน จังหวัดบริเวณศูนย์ราชการ เนื้อที่ 20 ไร่เศษ เห็นพ้องต้องกันว่าเหมาะแกะการสร้างอาคาร สำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดหลังใหม่ ที่มุ่งประสงค์จะสร้างโดยให้มีห้องประชุมสภาจังหวัดไว้ด้วย ได้นำความคิดนี้หารือ ผู้ว่าราชการ จังหวัด ( ร.ต.สนั่น ธานีรัตน์ ) ผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นด้วย ทั้งได้ลดเงินโครงการขุดลองหนอง ปลาเฒ่าซึ่งเป็นโครงการนโยบายผู้ว่าราชการจังหวัดลงจากเดิมที่จะตั้งไว้ 2,500,000 บาท เหลือเพียง 1,5000,000 บาท เอาเงิน 1,000,000 บาท รวมเข้ากับงานสร้าอาคารหลังใหม่คณะกรรมการ การคลัง ได้ขอตัดเงินจากโครงการต่างๆ ในร่างข้อบัญญัติที่ไม่เร่งด่วนมาเป็นค่าก่อสร้างอาคารจน ได้เงินทั้งสิ้น 5,400,000 บาท ตั้งจ่ายในงบประ มาณรายจ่ายปี 2530 การออกแบบการก่อสร้างอาคารได้รับความร่วมมือจากโยธาธิการจังหวัด ( คุณประยุทธ์ ธรรมจารีย์ ) และทีมงานโดยมี คุณภมรพรหม กุลพรหม เป็นวิศวกรผู้ออกแบบประมาณราคาส่งแบบให้กรมโยธาธิการพิจารณาอนุมัติ คณะกรรมการการคลังที่เป็น แรงผลักดันให้ ตั้งจ่ายงบประมาณสร้างถาวรวัตถุชิ้นสำคัญเป็นผลสำเร็จ ได้แก่ ส.จ.ทองอินทร์ สุหญ้านาง, ส.จ.เสงี่ยม ทองศิริ, ส.จ.ชัยยันต์ วิเชียรพันธ์, ส.จ.ประมวล ลวดสูงเนินฐ ส.จ.กิดาพร คุณรัตนศิริ และส.จ.จรัญ ศักดิ์ศิริ

          อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิหลังใหม่ ได้สร้างเสร็จสมบูรณ์โดดเด่น สวยสง่างาม เป็นประโยชน์แก่ทางราชการอย่างยิ่งจังหวัดชัยภูมิได้เลือกใช้อาคารหลังใหม่เป็นสถานที่รับเสด็จ สมเด็จพระเทพรัตราชสุดาสยามบรมราชกุมารี 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2532 และวันที่ 27 พฤษภาคม 2532 เป็นที่ทรงพักผ่อนอิริยบถและเสวยพระพระยาหารกลางวัน นับว่าเป็น วโรกาส อันเป็นมิ่งคลสูงส่งแก่พวกเราชาว องค์การบริหารส่วนจังหวัดยิ่งนัก หลังจากเสร็จจากการรับเสด็จได้ใช้สถาน ที่แห่งนี้ปฏบัติราชการของหน่วย งานตั้งแต่วันอังคารที่ 6 มิถุนายน 2532 เป็นต้นมา

          ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ มีนายอร่าม โล่ห์วีระ เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และมีนายกฤษฎา สงวนวงศ์ชัย  เป็นประธานสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ และมีสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด จำนวน 36 คน เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ

          การบริหารกิจการองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิแบ่งโครงสร้างการบริหารกิจการภายในองค์กร ได้แก่ สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด สำนักเลขานุการองค์การบริหารส่วนจังหวัด กองยุทธศาสตร์และงบประมาณ กองคลัง กองช่าง กองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม กองสวัสดิการสังคม กองสาธารณสุข กองพัสดุและทรัพย์สิน กองการเจ้าหน้าที่ และหน่วยตรวจสอบภายใน